นมผง (Milk Powder)


นมผง (Milk Powder) คือ เป็นนมอีกรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม โดยการนำน้ำนมไประเหยน้ำออกด้วยกรรมวิธีทำให้แห้ง (Dehydration) เพื่อให้น้ำนมอยู่ในรูปของผงพร้อมชง ซึ่งขั้นตอนการทำนมผงมีดังนี้
1.ตรวจสอบคุณภาพ คือ การนำน้ำนมดิบมาตรวจสอบคุณภาพว่ามีปริมาณสารอาหาร วิตามินและเกลือแร่อยู่ในน้ำนมดิบปริมาณเท่าใด รวมถึงการตรวจสอบปริมาณของจุลินทรีย์ที่พบในน้ำนมด้วย
2.ปรับมาตราฐาน (Standardization) คือ การปรับส่วนประกอบภายในน้ำนมให้มีปริมาณของไขมันนม วิตามิน แร่ธาตุ ให้มีค่าตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ ซึ่งแต่ละบริษัทแตละยี่ห้อจะมีค่ามาตราฐานที่แตกต่างกันไป
3.การพลาสเจอไรซ์ (Pasteurization) คือ การนำน้ำนมที่ผ่านการปรับมาตรฐานเรียบร้อยแล้ว มาทำการผ่านความร้อนประมาณ 63-65 องศาเซลเซียส นาน 30 นาทีหรือการทำให้ร้อนที่อุณหภูมิประมาณ 72 องศาเซลเซียสนาน 16 นาที และทำให้เย็นลงทันทีที่อุณหภูมิไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำนมให้หมดไป ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ในนมผงที่ได้
4.การฮอร์โมจีไนซ์ (Homogenization) คือ การทำให้ไขมันนมเกิดการแตกตัวให้เล็กลงและรวมตัวกันเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ และไม่เกิดการแยกชั้นขึ้นในกระบวนการทำให้แห้ง
5.การทำให้เข้มข้นด้วยการระเหย (Evaporation) คือ การระเหยเอาน้ำออกจากน้ำนม ทำให้น้ำนมมีความเข้มข้นสูงขึ้น ในการผลิตนมผงนิยมนำมาทำให้เข้มข้นก่อนที่จะนำไปทำให้แห้งเพื่อลดต้นทุน ลดเวลาและลดพลังงานในการทำให้แห้ง
6.การทำให้แห้ง (Dehydration) คือ การทำนมที่เข้มข้นให้แห้งกลายเป็นนมผง ซึ่งมีอยู่ 2 ระบบที่นิยมใช้ในการทำให้แห้งคือ
       6.1 การทำให้แห้งด้วยลูกกลิ้ง (Drum Drier) ทำโดยการนำลูกกลิ้งที่มีความร้อนสูงไปสัมผัสกับน้ำนมเข้มข้น น้ำที่มีอยู่ในน้ำนมจะระเหยออกไปจนหมด เหลือแต่ผงของนมติดอยู่บนลูกกลิ้ง แล้วทำการขุดผงนมที่ติดอยู่บนลูกกลิ้งออกมาทำการบดอีกครั้งจะได้เป็นนมผง การทำให้แห้งด้วยลูกกลิ้งไม่เป็นผลดีต่อนมผงที่ได้เพราะน้ำนมต้องสัมผัสกับความร้อนสูงจากลูกกลิ้ง จึงเกิดปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลส่งผลให้น้ำตาลและกรดแอมิโนไลซีนมีกลิ่นไหม้ โปรตีนในน้ำนมไม่สามารถละลายน้ำได้หมด
       6.2 การทำให้แห้งด้วยระบบฉีดฝอย ทำได้โดยการฉีดพ่นน้ำนมให้เป็นฝอยเข้าไปในห้องที่มีความร้อนหรือให้สัมผัสกับลมร้อนในห้องที่ทำแห้ง ซึ่งลมหรือไอความร้อนจะมีอุณหภูมิประมาณ 150-300 องศาเซลเซียส ปล่อยลมร้อนเข้าไปด้วยความเร็ว 50 เมตรต่อวินาที ซึ่งการปล่อยลมร้อนนี้สามารถปล่อยไปในทิศทางเดียวกับที่ฉีดน้ำนมหรือปล่อยในทิศทางที่สวนกับทิศการปล่อยน้ำนมก็ได้
นมผงที่ผ่านขั้นตอนการผลิตมาแล้วนั้น มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด ขึ้นอยู่กับน้ำนมสดที่นำมาผลิตนมผง ดังนี้
2.1 นมผงธรรมดา (Dried / Powder Milk) หรือนมผงพร้อมมันเนย (Dry Whole Milk) คือนมผงที่ผลิตจากน้ำนมธรรมดาที่มีปริมาณไขมันเนยตามธรรมปกติ นำมาผ่านกรรมวิธีการระเหยน้ำออกจนเหลือน้ำประมาณ 3-5%
2.2 นมผงขาดมันเนย (Dried Skim Milk) หรือนมผงพร่องมันเนย (Non Fat Dried Milk) คือนมผงที่ผลิตจากนมที่ผ่านขั้นตอนการนำไขมันนมออกไป เรียกว่า หางนมนมผงชนิดนี้จะมีปริมาณไขมันน้อยกว่านมผงธรรมดาจึงให้พลังงานต่อร่างกายน้อยเช่นกัน แต่สารอาหารทั้งโปรตีน แคลเซียม และวิตามินนั้นใกล้เคียงกับนมผงธรรมดา
2.3 นมผงดัดแปลง (Humanized / Modified Milk) คือ นมผงที่มีการรเติมสารอาหาร แร่ธาตุและวิตามินเข้าไปเพื่อให้มีคุณค่าทางอาหารคล้ายกับนมมารดาหรือบางครั้งมีการเพิ่มสารอาหารให้มากกว่าในนมมารดา นมผงชนิดนี้พัฒนามาให้เหมาะสมสำหรับเด็กทารกใช้ดื่มแทนนมมารดาหลังจากที่นมมารดาหมดหรืออายุครบ 1 ปีขึ้นไป
นมผง